วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis)

         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมไว้ว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

         http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้รวบรวมไว้ว่า ในการสร้างสมมุติฐานมี 2แบบ ดังนี้
         1. แบบใช้เหตุผล หรือนิรภัย (Logical หรือ Deductive)
โดยการเขียนจากหลักการ หรือทฤษฎี ที่ได้ศึกษาก่อน และตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมานั้น สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีหรือไม่ ข้อสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมุติฐาน แสดงว่าสมมุติฐานนั้นใช้ไม่ได้
         2. แบบอาศัยข้อเท็จจริง หรืออุปนัย (Emperical หรือ Inductive)
การสร้างสมมุติฐานแบบนี้ต้องอ้างอิงการวิจัยอื่น ๆ สังเกตข้อเท็จจริง พฤติกรรม แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏขึ้น แล้วจึงตั้งสมมุติฐาน
        สมมุติฐานไม่ควรจะเป็นเรื่องที่คิดเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาใหม่เอง และไม่ควรเขียนขึ้นภายหลัง เมื่อรู้ลักษณะโดยตลอดของข้อมูลแล้ว สมมุติฐานควรจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของนักวิจัย ในการสังเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับปัญหา

         อรุณี อ่อนสวัสดิ์ (2551:51-53) ได้กล่าวไว้ว่า กาตั้งสมมุติฐาน หมายถึงข้อความที่แสดงถึงการคาดคะเนคำตอบเกี่ยวกับผลการวิจัย ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร โดยอาศัยหลักฐานหรือความรู้เดิม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการค้นคว้า เพื่อทำการพิสูจน์ตรวจสอบความถูกต้องของสมมุติฐานนั้น และเท็จจริงของเรื่องที่ต้องการศึกษา ประเภทของสมมุติฐาน (Type of hypothesi)
สมมุติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สมมุติฐานการวิจัย และสมมุติฐานทางสถิติ
         1. สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นข้อความที่คาดเดาคำตอบ หรือสันนิษฐานคำตอบของการวิจัยไว้ล่วงหน้า ซึ่งเขียนบรรยายโดยใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน ในการทำการวิจัยไม่จำเป็นว่าการวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีสมมุติฐานการวิจัย การวิจัยบางลักษณะเช่น การวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยมักจะไม่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะพบสิ่งใด หรือการวิจัยที่ไม่มีทฤษฎีหรือตัวอย่างในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มาก่อน
         2. สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่เขียนอธิบายคำตอบในรูปโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ที่คาดคะเนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรหรือมากกว่า สมมุติฐานทางสถิติประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
                2.1 สมมุติฐานศูนย์ (Null hypothesis) เป็นสมมุติฐานทางสถิติที่ตั้งเอาไว้เพื่อการทดสอบ ซึ่งเขียนไว้ในลักษณะที่ไม่แสดงความแตกต่าง ระหว่างค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ นิยมใช้สัญลักษณ์ H0แทนสมมุติฐานศูนย์
                2.2 สมมุติฐานอื่นที่เป็นทางเลือก (Alternative hypothesis) เป็นสมมุติฐานทางสถิติที่ตรงข้ามกับสมมุติฐานศูนย์ที่ต้องการทดสอบ ซึ่งเขียนไว้ในลักษณะที่แสดงความแตกต่างระหว่างค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ โดยตั้งขึ้นมาเป็นทางเลือกในกรณีปฏิเสธสมมุติฐานศูนย์ จะได้มีสมมุติฐานอื่นรองรับ และถ้ายอมรับสมมุติฐานศูนย์ จะได้ปฏิเสธสมมุติฐานอื่น โดยสมมุติฐานอื่นมักจะเป็นสมมุติฐานที่คาดว่าจะเป็นผลของการวิจัย นิยมใช้สัญลักษณ์ H1 หรือ HA แทนสมมุติฐานอื่น

สรุป
         การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น