วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

20. งบประมาณ (Budget)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
            1. เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
            2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
            3. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
            4. ค่าครุภัณฑ์
            5. ค่าประมวลผลข้อมูล
            6. ค่าพิมพ์รายงาน
            7. ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
            8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
            อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

            สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539 : 201 – 249 )   ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น เช่น งบประมาณรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

            อรชร โพธิ ( 2545 : 157–210 )  ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณ หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้นๆ

สรุป
        งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2539). การบัญชีต้นทุน แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิง
            การบริหาร. กรุงเทพฯ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อรชร โพธิสุข และคณะ.(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. 
            กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น