วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้กล่าวไว้ว่า  อาจเรียกต่างๆกัน  เช่น  
หลักการและเหตุผลภูมิหลังของปัญหา  ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย  หรือความสำคัญ
ของโครงการวิจัย ฯลฯ  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร  ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร  มีความเป็นมา
หรือภูมิหลังอย่างไร  มีความสำคัญ  รวมทั้งความจำเป็น  คุณค่าและประโยชน์  ที่จะได้จาก
ผลการวิจัยในเรื่องนี้  โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหา  และวิเคราะห์ปัญหา
อย่างกว้างๆ ก่อนว่า  สภาพทั่วๆ ไปของปัญหาเป็นอย่างไร  และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหา
อะไรเกิดขึ้นบ้าง  ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร  ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้  
มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

ื          http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้กล่าวไว้ว่า  การเขียนบทนำ  
เป็นการสร้างฐานให้ผู้อ่านวิจัยทราบ  และเข้าใจเรื่องราวของงานวิจัยนั้นโดยตลอด  ตั้งแต่เริ่มค้นคว้า
ผู้วิจัยนั้นจะรายงานเรื่องอะไร  ปัญหาที่น่าสนใจมีอะไร  มีเหตุผลของการวิจัย  และการรายงานอย่างไรบ้าง  เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบสาระของการวิจัยมากที่สุดในการวิจัยนั้น  ผู้วิจัยจะต้องมีเหตุผลในการทำวิจัย มีความเข้าใจถึงตัวปัญหา ความสำคัญของปัญหา ขอบข่ายทฤษฎีที่ศึกษา ผลงานของการศึกษาอื่น ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การสืบค้น  และมีหลักฐานยืนยันว่า  เรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นมีความสำคัญ และสัมพันธ์ในการตอบคำถามที่ต้องการอย่างไร
        ในเรื่องความเป็นมา  และความสำคัญของปัญหาในที่นี้จะกล่าวถึง  แนวทางการเรียน
ที่ควรจะปรากฎอยู่ในรายงานการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
        1. แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า  เป็นการท้าวภูมิหลัง  ความเป็นมา  มีการจัดลำดับให้ชัดเจนของ
เรื่องราว  แหล่งกำเนิด  ผู้ค้นพบ  การสืบทอดของปัญหา  ที่มาของการวิจัย  โดยใช้เหตุ  และผล
มาสนับสนุนความคิดต่างๆ เหล่านั้น  เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น  และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง  และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น
        2. กล่าวถึงจุดสนใจของการศึกษาค้นคว้า  และมูลเหตุของการทำวิจัย  ที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า  เช่น  เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น  หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน 
หรือขาดรายละเอียด
        3. มีการเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา  และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย  มีคุณประโยชน์  และมีคุณค่าอย่างไร
        4. กล่าวถึงความต้องการ  และยืนยัน  หรือลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพ  และสถานการณ์ต่างๆ ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว  โดยใช้หลักการและเหตุผลในการสนองตอบ  และหักล้างแนวความคิด
       5. ในการเขียนนำเรื่องความเป็นมา  และความสำคัญของปัญหาอาจใช้วิธีต่อไปนี้
              5.1 มีการเขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
              5.2 เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่วๆ ไป (Inductive Method)
       อย่างไรก็ตาม  ในการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น  จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม  และการวางแผนงานของผู้วิจัย  แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่อง และติดตามงานวิจัยตลอดทั้งเรื่อง

         http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202   ได้กล่าวไว้ว่า  เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้  ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร  มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว  นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย  การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา  โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้  และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ  โดยกระบวนการวิจัย

สรุป 
         วิธีการเขียนความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย  อาจเรียกต่างๆกัน  เช่น  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา  ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย  หรือความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร  ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร  มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร  มีความสำคัญ  รวมทั้งความจำเป็น  คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้  โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร  และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง  ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร  ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วหรือยัง  ที่ใดบ้าง  และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าต่องานด้านนี้ได้อย่างไร

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ16ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น