วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
         1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น    เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
         2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                 2.1 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว 
                       และชุมชน
                 2.2 เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

          http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัย เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทาง เงื่อนไข และเรื่องราวโดยเฉพาะ โดยเน้นถึงผลที่จะได้รับในเชิงปฎิบัติได้จริง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องกำหนดแนวทางที่ถือปฎิบัติได้จริง วัดได้ ตรวจสอบได้ โดยการกล่าวถึงตัวแปรข้อมูล ตัวอย่างประชากร ตัวอย่างงาน มิใช่กล่าวข้อเสนอแนะ หรือประโยชน์ การวัตถุประสงค์ เป็นการเจาะจงถึงหลักการเนื้อแท้ของเรื่องราวที่ผู้วิจัยดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ความมุ่งหมายของการวิจัยจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ผู้วิจัยจะทำอะไร อย่างไร คาดว่าจะได้อะไรจากการวิจัย เป็นการแสดงเจตจำนงที่จะหาคำตอบในขอบเขตจำเพาะ อย่าเขียนเลยเถิดออกไปจากแนวทาง ในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ไม่ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาของงานวิจัย

         นงลักษณ์ วิรัชชัย (2535:55-61) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจ่มกระจ่าง เช่น  “เพื่อประมวลปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนจากการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์และนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา”

สรุป
         เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจ่มกระจ่าง

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2535). “คู่มือการเขียนโครงการวิจัย”. วารสารการวัดผลการศึกษา
           (ฉบับที่ 35). กรุงเทพมหนคร : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น