วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ลดน้ำหนักด้วยผลไม้

ผลไม้ 8 ชนิด ที่จะช่วยให้คุณสาว ๆ ลดความอ้วนได้ไม่ยาก


1. แอปเปิ้ล


ผลไม้สีแดง ๆ เขียว ๆ นี้ สามารถช่วยคุณสาว ๆ ลดความอ้วนได้อย่างสบาย ๆ เลยล่ะ เพราะแอปเปิ้ลได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ลดน้ำหนัก เนื่องจากแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหาร หรือไฟเบอร์มากมาย เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มท้องนาน เพราะน้ำตาลฟรักโทสในแอปเปิ้ลจะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ช่วยให้ร่างกายไม่รู้สึกหิว            นอกจากนั้นแล้ว แอปเปิ้ลยังให้พลังงานเพียงแค่ 59 แคลอรี จึงไม่ทำให้อ้วน แถมยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย โดยเฉพาะ "เพคติน" ที่มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก มันจึงไปเพิ่มกากใยในอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ จึงช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยจับคอเลสตอรอล และช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายได้ด้วย

       ผลไม้สีแดง ๆ เขียว ๆ นี้ สามารถช่วยคุณสาว ๆ ลดความอ้วนได้อย่างสบาย ๆ เลยล่ะ เพราะแอปเปิ้ลได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ลดน้ำหนัก เนื่องจากแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหาร หรือไฟเบอร์มากมาย เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มท้องนาน เพราะน้ำตาลฟรักโทสในแอปเปิ้ลจะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ช่วยให้ร่างกายไม่รู้สึกหิว

          นอกจากนั้นแล้ว แอปเปิ้ลยังให้พลังงานเพียงแค่ 59 แคลอรี จึงไม่ทำให้อ้วน แถมยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย โดยเฉพาะ "เพคติน" ที่มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก มันจึงไปเพิ่มกากใยในอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ จึงช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยจับคอเลสตอรอล และช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายได้ด้วย



2, ฝรั่ง

         สุดยอดผลไม้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวิตามินซีชนิดนี้ ช่วยให้คุณลดความอ้วนได้ไม่ยาก เพราะฝรั่งเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ แถมยังเคี้ยวเพลินอีกต่างหาก จึงเหมาะกับสาว ๆ ที่อยากกินจุบกินจิบเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความอ้วนได้แล้ว วิตามินซีในฝรั่งยังช่วยสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไร้ริ้วรอยอีกด้วย
          เพราะฉะนั้น หิวครั้งหน้า ก็อย่าลืมคว้าฝรั่งมาทานแทนขนมกรุบกรอบนะคะ อ๊ะ...คำเตือนก็คือ ทานแต่ฝรั่งเปล่า ๆ เท่านั้นนะ อย่าเผลอจิ้มพริกเกลือ พริกน้ำตาล เด็ดขาด เพราะจะทำให้อ้วนได้นะเออ




3. แตงโม

         แตงโมลูกโต ๆ รสหวาน ๆ ไม่ได้ทำให้คุณอ้วนแต่ประการใด เพราะแตงโม 1 ถ้วย ให้พลังงานเพียง 50 แคลอรีเท่านั้น แถมยังให้ไขมันน้อยนิด และยังชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำถึง 93% ของส่วนประกอบทั้งหมด ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็ว เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวเลยว่า แตงโม จะทำให้คุณสาว ๆ อ้วนได้ ตรงกันข้าม หากรับประทานแตงโมแทนอาหารมื้อเย็นหนัก ๆ ก็ช่วยลดความอ้วนได้ด้วย แต่ควรทานอย่างพอดี ไม่มากไปนะจ๊ะ ไม่เช่นนั้นท้องไส้จะปั่นป่วนเอาได้ แถมยังต้องเข้าห้องน้ำปัสสาวะบ่อย ๆ ด้วย



4. ส้ม

       สาว ๆ หลายคนมักแกะกากส้มออกจนหมด เพื่อให้ทานได้ง่าย ๆ แต่รู้ไหมว่า คุณกำลังทิ้งของดีไปเสียแล้ว เพราะกากใยของส้มนั่นแหละคือสิ่งที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้สาว ๆ ได้ โดยกากใยจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ว และช่วยทำให้ระบายท้องได้ดี อย่างไรก็ตาม ส้ม เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับผลไม้ลดความอ้วนชนิดอื่น ๆ ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดีแล้วกันนะ




5. มะละกอ



          มะละกอ เป็นผลไม้ที่ช่วยขับสารพิษของเสียออกจากร่างกาย แถมยังช่วยกำจัดไขมันต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ด้วย โดยมะละกอมีเอนไซน์ปาเปน ที่จะช่วยย่อยโปรตีน และย่อยอาหาร จึงช่วยลดน้ำหนักได้อีกทางด้วย ส่วนใครที่อยากมีผิวพรรณสวย มะละกอ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสน เพราะมะละกอมีวิตามินซี และเบตาแคโรทีนสูง จึงช่วยบำรุงผิวพรรณได้







6. แก้วมังกร


        แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่ช่วยให้คุณอิ่มท้องได้ง่าย ๆ ไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น เพราะแก้วมังกรมีกากใยสูงและแคลอรีต่ำ แถมยังมีรสหวานอร่อย หลาย ๆ คน จึงเลือกรับประทานแก้วมังกรเป็นอาหารเย็น หรือทานรวมกับผักสลัดอื่น ๆ เพื่อช่วยลดน้ำหนัก โดยไม่ต้องห่วงว่าจะความหวานจะไปเป็นไขมันสะสมในภายหลัง

          และนอกจากลดน้ำหนักแล้ว ผลพลอยได้จากแก้วมังกรที่คุณสาว ๆ ไม่ควรพลาดอีกเช่นกันก็คือ แก้วมังกรเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีวิตามินซีสูงมาก ดังนั้น จึงช่วยบำรุงผิวพรรณไปในตัว แถมยังช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนมดีต่อคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรด้วย




7. กีวี่


         อีกหนึ่งผลไม้ยอดนิยมของสาว ๆ ที่ปรารถนาจะลดน้ำหนักเลยล่ะ เพราะกีวีเป็นผลไม้ที่มีกากใยมากกว่าแอปเปิ้ลและส้มถึง 25% ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและนาน แถมยังมีวิตามินซี และวิตามินอีสูง ซึ่งจะช่วยให้ผิวพรรณสดใส ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด บำรุงเซลล์เม็ดเลือดแดงให้แข็งแรง และช่วยสลายไขมันในเลือดด้วย ใครที่ชอบทานกีวีจึงได้ประโยชน์จากกีวีแบบหลายเด้งเลย



8. เกรปฟรุต

         สุดยอดผลไม้ไดเอตที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า การกิน "เกรปฟรุต" ครึ่งลูกก่อนมื้ออาหารจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างเหลือเชื่อ โดยสามารถลดปริมาณแคลอรีได้ถึง 150 แคลอรีต่อวันเชียวนะ แถมเกรปฟรุตครึ่งลูกก็มีแคลอรีเพียงแค่ 39 แคลอรีเท่านั้นเอง

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)

           เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
            1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
            2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
            3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
            4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
            5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

            พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

            ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
            1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
            2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                2.1 ขั้นเตรียมการ
                          - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                          - ติดต่อผู้นำชุมชน
                          - การเตรียมชุมชน
                          - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                          - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                          - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                          - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                          - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                          - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                          - ขั้นการเขียนรายงาน
           3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
           4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
                ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
                ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
                จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

สรุป
         การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน

เอกสารอ้างอิง
 เสนาะ ติเยาว์.(2544). หลักการบริหาร.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
            ธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.(พิมพ์ครั้งที่ 5).
            กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร :
            เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

15. ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)

          องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24)  ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่นฃ
          1. การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
          2. การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
          3. การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

          คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24)  ได้กล่าวไว้ว่า
         1. ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง
                 1.1 การรวบรวมข้อมูลวิจัยสส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะ
                       ไร้อำนาจเช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
                       ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล
                       ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการ    
                       วิจัยดังต่อไปนี้ คือ
                             1.1.1 การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้
                                      เกี่ยวกับตนเอง
                             1.1.2 ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล
                             1.1.3 การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับ ความอับอายหรือต้องมี
                                      ความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผยแพร่ต่อ
                                      สาธารณชน
                             1.1.4 ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้
                             1.1.5 การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจ
                                      ก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล
                 1.2 การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล
                       โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล
                       ทั้งนี้แบบฟอร์ม  ดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย
                       และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ
                       ความเสี่ยงที่อาจมีการให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ  ชี้ให้เห็นถึง
                       ระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็น
                       สำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็น ความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามใน
                       หนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่
                       อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ
                 1.3 การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือ
                       ในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตน
                       อย่างไร
                 1.4 การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปํญหายาเสพติด ปัญหา
                       อาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับ
                       อันตราย
                1.5 การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้
                      กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย
                      ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย
         2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
                2.1 การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติ
                       ทางเพศ    การเหยียดผิว
                2.2 การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล
                      การวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การ
                      กระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
                2.3 การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่
                     ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผล
                     การวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิง
                     ข้อเท็จจริงต่าง ๆ
               2.4 การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย  เช่น
                       การปลอมตัว  การปกปิดวิธีวิจัย
               2.5 การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือน
                     ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่ง
                     เสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
               2.6 การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็น
                     อันตรายต่อผู้อื่น
               2.7 การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม
        3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
               3.1 ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้
                     การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่
                     จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างใน
                     การวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
               3.2 การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น
                     การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ
        4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
           สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม

           พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28)  ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
           1.การตั้งชื่อเรื่อง
                - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
                - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
          2.การขอรับทุนสนับสนุน
                - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
                - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
                - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
                - การติดสินบนผู้พิจารณา
                - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
                - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
                - ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
                - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
                - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
          3.งบประมาณการวิจัย
                - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
                - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
                - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
          4.การทำวิจัย
                - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
                - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
                - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
                - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
                - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
                - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
                - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
                - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
          5.การเขียนรายงานการวิจัย
                - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหา
                   คุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
                - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
                - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
         6.การส่งผลงานวิจัย
                - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
                - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ

สรุป
ปัญหาทางจริยธรรม
          1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ การให้สิ่งล่อใจเป็นสินจ้างรางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูล และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล
          2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔กต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์
          3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ
          4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธการให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย

เอกสารอ้างอิง
องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
              สังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
 คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.(2545).สถิติและการวิจัย
               สังคมศาสตร์.นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์
               สถาบันราชภัฏพระนคร.

22. ภาคผนวก (Appendix)

            พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

            พรศรี ศรีอัษฎาพร และคณะ (2529 : 161)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง

            เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

สรุป
         ภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :
            ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
พรศรี ศรีอัษฎาพร และคณะ.(2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
เรืองอุไร ศรีนิลทา.(2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์.

21. เอกสารอ้างอิง (References)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/8592   ได้รวบรวมไว้ว่าเอกสารอ้างอิง (references)  หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

            วัลลภ ลำพาย (2547 : 178)  ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่างๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ

            พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 389)  ได้กล่าวไว้ว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น

สรุป
        ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก การเขียนรายงานการวิจัยเมื่อได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนในเนื้อเรื่องแล้ว เมื่อจบรายงาน การวิจัยจะต้องรบกวนหนังสือ เอกสารและหลักฐานที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันท้ายรายงาน ซึ่งรายการหนังสือทั้งหลายที่รวบรวมไว้นี้ เรียกว่า

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/8592   เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัย
            เกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือ
            ราชภัฏพระนคร.

20. งบประมาณ (Budget)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
            1. เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
            2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
            3. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
            4. ค่าครุภัณฑ์
            5. ค่าประมวลผลข้อมูล
            6. ค่าพิมพ์รายงาน
            7. ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
            8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
            อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

            สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539 : 201 – 249 )   ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น เช่น งบประมาณรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

            อรชร โพธิ ( 2545 : 157–210 )  ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณ หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้นๆ

สรุป
        งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2539). การบัญชีต้นทุน แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิง
            การบริหาร. กรุงเทพฯ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อรชร โพธิสุข และคณะ.(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. 
            กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

           สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6)  ได้กล่าวไว้ว่า
อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
            1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
            2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
            3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
            4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
            5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข  มีดังนี้
            1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
            2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
            3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
            4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
            5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

          ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)  ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
            แนวทางการแก้ไข  นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

          สุวิมล ว่องวาณิช(2544:91) ได้กล่าวไว้ว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
            แนวทางการแก้ไข   อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว

สรุป
         การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน

เอกสารอ้างอิง
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
            เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ 
            หอสมุดกลาง.
สุวิมล ว่องวาณิช.(2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ 
            ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.