วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)

           เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
            1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
            2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
            3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
            4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
            5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

            พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

            ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8)  ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
            1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
            2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                2.1 ขั้นเตรียมการ
                          - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                          - ติดต่อผู้นำชุมชน
                          - การเตรียมชุมชน
                          - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                          - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                          - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                          - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                          - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                          - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                          - ขั้นการเขียนรายงาน
           3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
           4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
                ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
                ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
                ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
                จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

สรุป
         การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน

เอกสารอ้างอิง
 เสนาะ ติเยาว์.(2544). หลักการบริหาร.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
            ธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.(พิมพ์ครั้งที่ 5).
            กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2542). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร :
            เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

15. ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)

          องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24)  ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่นฃ
          1. การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
          2. การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
          3. การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

          คณะกรรมการผลิตและบริหาร ชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (2545 : 24)  ได้กล่าวไว้ว่า
         1. ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง
                 1.1 การรวบรวมข้อมูลวิจัยสส่วนใหญ่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งอยู่ในสังคมในภาวะ
                       ไร้อำนาจเช่น ผู้ที่มีฐานะยากจน ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
                       ทำให้พวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล
                       ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบจากการมีส่วนร่วมในการ    
                       วิจัยดังต่อไปนี้ คือ
                             1.1.1 การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพ ทัศนคติ บุคลิกภาพและการรับรู้
                                      เกี่ยวกับตนเอง
                             1.1.2 ประสบการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดและความกังวล
                             1.1.3 การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจทำให้เขาได้รับ ความอับอายหรือต้องมี
                                      ความรับผิดชอบในทางกฎหมายหากข้อมูลเหล่านั้นถูกนำไปเผยแพร่ต่อ
                                      สาธารณชน
                             1.1.4 ได้รับข้อมูลที่ไม่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับตัวเองซึ่งเขาเองอาจไม่ต้องการรับรู้
                             1.1.5 การล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่อาจ
                                      ก่อให้เกิดความอับอายหรือเป็นอันตรายแก่ผู้ให้ข้อมูล
                 1.2 การให้ความยินยอมของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยควรได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล
                       โดยการให้ผู้ให้ข้อมูลลงนามในแบบฟอร์มการให้ความยินยอมในการให้ข้อมูล
                       ทั้งนี้แบบฟอร์ม  ดังกล่าวจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ภูมิหลังของผู้วิจัย
                       และชี้ให้ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัย เช่น ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ
                       ความเสี่ยงที่อาจมีการให้สัญญาว่าจะแจ้งผลการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบ  ชี้ให้เห็นถึง
                       ระดับของความลับของข้อค้นพบจากการวิจัย และที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นประเด็น
                       สำคัญที่ว่าการเข้าร่วมในงานวิจัยเป็น ความสมัครใจ การที่ผู้ให้ข้อมูลลงนามใน
                       หนังสือแสดงความยินยอมจะเป็นสิ่งยืนยันว่าผู้ให้ ข้อมูลรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่
                       อาจเกิดขึ้นและยินยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการวิจัยโดยไม่มีการบังคับ
                 1.3 การให้สิ่งล่อใจ เช่น การให้สินจ้างรางวัลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้ผู้ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือ
                       ในการวิจัยโดยผู้ให้ข้อมูลไม่ทราบว่าการมีส่วนร่วมในการวิจัย จะมีผลทางลบต่อตน
                       อย่างไร
                 1.4 การสอบถามข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปํญหายาเสพติด ปัญหา
                       อาชญากรรม และปัญหาโสเภณี ซึ่งอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลอึดอัดหรือกลัวที่จะได้รับ
                       อันตราย
                1.5 การรักษาความลับ ผู้วิจัยจะต้องปกปิดข้อมูลที่ได้ไว้เป็นความลับตามที่ได้ให้สัญญาไว้
                      กับผู้ให้ข้อมูล การไม่รักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลอาจทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตราย
                      ถือว่าผู้วิจัยขาดจริยธรรมในการวิจัย
         2.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้วิจัย
                2.1 การหลีกเลี่ยงความมีอคติ ผู้วิจัยควรหลีกเลี่ยงอคติส่วนตน เช่น การเลือกปฏิบัติ
                       ทางเพศ    การเหยียดผิว
                2.2 การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) การวิจัยไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้ผล
                      การวิจัยที่ต้องการ แต่อาจจะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากการให้หรืองดให้การ
                      กระทำบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิจัยเชิงทดลอง
                2.3 การใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสม ในการวิจัยควรใช้ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัยที่
                     ต้องการศึกษา หากผู้วิจัยไม่มีความชำนาญหรือไม่มีความระมัดระวังพอ ก็อาจทำให้ผล
                     การวิจัยที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรืออาจมีความคลาดเคลื่อนในเชิง
                     ข้อเท็จจริงต่าง ๆ
               2.4 การใช้วิธีการปกปิด (covert methods) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการวิจัย  เช่น
                       การปลอมตัว  การปกปิดวิธีวิจัย
               2.5 การรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง การรายงานผลการวิจัยบางครั้งบางครั้งมีการบิดเบือน
                     ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงบางประการ ซึ่งอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่ง
                     เสียประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยไม่ควรกระทำ
               2.6 การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรนำแนวทางผลการวิจัยไปในทางที่สร้างสรรค์ และไม่เป็น
                     อันตรายต่อผู้อื่น
               2.7 การแบ่งผลงานระหว่างผู้ร่วมวิจัยอย่างเป็นธรรม
        3.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
               3.1 ข้อจำกัดของหน่วยงานที่ให้ทุน หน่วยงานที่ให้ทุนอาจมีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้
                     การวิจัยอาจมีปัญหาทางด้านจริยธรรมในการวิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่
                     จะให้ผลทางด้านบวกต่อการวิจัย การให้หรืองดให้การกระทำ (treatment) บางอย่างใน
                     การวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งอาจทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
               3.2 การนำผลการวิจัยไปใช้ บางครั้งหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยอาจมีจุดประสงค์ซ่อนเร้น เช่น
                     การให้ทุนวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือประโยชน์ทางธุรกิจ
        4.ปัญหาจริยธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
           สิทธิของสังคมโดยรวมควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถีงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม สาธารณสุขและสภาพแวดล้อม แต่การวิจัยบางเรื่องอาจทำให้คนในสังคมบางกลุ่มรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธในการให้ข้อมูล เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ การฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมทางเพศ ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมก็ตาม

           พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28)  ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
           1.การตั้งชื่อเรื่อง
                - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
                - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
          2.การขอรับทุนสนับสนุน
                - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
                - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
                - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
                - การติดสินบนผู้พิจารณา
                - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
                - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
                - ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
                - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
                - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
          3.งบประมาณการวิจัย
                - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
                - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
                - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
          4.การทำวิจัย
                - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
                - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
                - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
                - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
                - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
                - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
                - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
                - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
          5.การเขียนรายงานการวิจัย
                - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหา
                   คุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
                - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
                - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
         6.การส่งผลงานวิจัย
                - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
                - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ

สรุป
ปัญหาทางจริยธรรม
          1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่าง หรือไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูล โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้ข้อมูลเสียก่อนไม่เป็นการบังคับ การให้สิ่งล่อใจเป็นสินจ้างรางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูล และต้องรักษาความลับปกปิดข้อมูลที่ได้ เพื่อไม่ให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายจากการให้ข้อมูล
          2.ผู้วิจัยต้องหลีกเลี่ยงความมอคติส่วนตน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมะสมกับหัวข้อที่จะวิจัย ถ้าไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และต้องรายงานผลการวิจัยที่๔กต้องไม่บิดเบือนข้อมูลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และควรนำผลการวิจัยไปใช้ในทางที่สร้างสรรค์
          3.หน่วยงานที่ให้ทุนไปใช้ในการวิจัย บางครั้งหน่วยงานเหล่านี้อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือซ่อนเร้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์จากการวิจัย เช่น ทางการเมือง ทางธุรกิจ
          4.ถ้างานวิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม ก็ควรได้รับการปกป้องจากผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการสูบบุหรี่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าขัดกับผลประโยชน์ของเขาและอาจปฏิเสธการให้ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเคารพสิทธิของกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย

เอกสารอ้างอิง
องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
              สังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
 คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.(2545).สถิติและการวิจัย
               สังคมศาสตร์.นนทบรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์
               สถาบันราชภัฏพระนคร.

22. ภาคผนวก (Appendix)

            พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

            พรศรี ศรีอัษฎาพร และคณะ (2529 : 161)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง

            เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236)  ได้กล่าวไว้ว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

สรุป
         ภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :
            ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
พรศรี ศรีอัษฎาพร และคณะ.(2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
เรืองอุไร ศรีนิลทา.(2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์.

21. เอกสารอ้างอิง (References)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/8592   ได้รวบรวมไว้ว่าเอกสารอ้างอิง (references)  หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

            วัลลภ ลำพาย (2547 : 178)  ได้กล่าวไว้ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่างๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ

            พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 389)  ได้กล่าวไว้ว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น

สรุป
        ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก การเขียนรายงานการวิจัยเมื่อได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนในเนื้อเรื่องแล้ว เมื่อจบรายงาน การวิจัยจะต้องรบกวนหนังสือ เอกสารและหลักฐานที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันท้ายรายงาน ซึ่งรายการหนังสือทั้งหลายที่รวบรวมไว้นี้ เรียกว่า

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/8592   เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัย
            เกษตรศาสตร์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือ
            ราชภัฏพระนคร.

20. งบประมาณ (Budget)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
            1. เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
            2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
            3. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
            4. ค่าครุภัณฑ์
            5. ค่าประมวลผลข้อมูล
            6. ค่าพิมพ์รายงาน
            7. ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
            8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
            อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

            สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539 : 201 – 249 )   ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น เช่น งบประมาณรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

            อรชร โพธิ ( 2545 : 157–210 )  ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณ หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้นๆ

สรุป
        งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2539). การบัญชีต้นทุน แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิง
            การบริหาร. กรุงเทพฯ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อรชร โพธิสุข และคณะ.(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. 
            กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

           สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6)  ได้กล่าวไว้ว่า
อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
            1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
            2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
            3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
            4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
            5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข  มีดังนี้
            1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
            2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
            3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
            4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
            5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

          ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)  ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
            แนวทางการแก้ไข  นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

          สุวิมล ว่องวาณิช(2544:91) ได้กล่าวไว้ว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
            แนวทางการแก้ไข   อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว

สรุป
         การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน

เอกสารอ้างอิง
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน
            เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ 
            หอสมุดกลาง.
สุวิมล ว่องวาณิช.(2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ 
            ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected benefits & Application)

           http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application) อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact)โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

           พจน์ สะเพียรชัย (2516:54)  ได้กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ

          รวีวรรณ ชินะตระกลู (2540 : 79)  ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ

สรุป
        ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย ควรให้ประโยชน์ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

เอกสารอ้งอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
พจน์ สะเพียรชัย.(2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ :
             วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.
รวีวรรณ ชินะตระกลู.(2540). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย

           นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2552:293)  ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการ ศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

           มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222)  ได้กล่าวไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา

           จำเรียง กูรมะสุวรรณ (2529:162)  ได้กล่าวไว้ว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย

สรุป
        ข้อจำกัดในการวิจัย คือ ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองในการวิจัย โดยผู้วิจัยไม่สามารถควบคุม หลีกเลี่ยงได้ และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้การวิจัยได้ผลไม่สมบูรณ์

เอกสารอ้างอิง
นิรันดร์ จุลทรัพย์.(2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ :
           นำศิลป์โฆษณา.
 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์.(2545).สถิติและ
           การวิจัยทางสังคมศาสตร์.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
 จำเรียง กูรมะสุวรรณ.(2552).  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.

14. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

           สุภาพ วาดเขียน (2520:30)  ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์

            บุญเรียง ขจรศิลป์ (2539:189)  ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมนั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีใช้ในการวิจัย นั้นขึ้นอยู่กับว่าการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น รวบรวมมาจากสมาชิกทุกหน่วยในกลุ่มประชากรหรือรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ถ้ารวบรวมจากกลุ่มประชากรสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็น พรรณนาสถิติ แต่ถ้าการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเป้าหมายในการวิจัยนั้น ต้องการที่จะสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออนุมานสถิติ

           สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์ (2545:10)  ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล

สรุป
        การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการตรวจสอบข้อบกพร่องของข้อมูลว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร โดยใช้สถิติที่เหมาะสมมาใช้ในการรวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องอาศัยความยุติธรรม ความชำนาญ ความเชื่อถือได้เป็นหลัก

เอกสารอ้งอิง
สุภาพ วาดเขียน.(2520). วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ
            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเรียง ขจรศิลป์.(2539).วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์.(2545). มิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์.

13. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

            ประคอง กรรณสูต(2529:12)  ได้กล่าวไว้ว่า ข้อมูลเป็นกระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล เพื่อการนำเสนอหรือนำไปดำเนินการตามหลักสถิติ ถ้าการออกแบบวิจัยที่ดีก็จะมีการกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลดีด้วย ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปของตัวเลข เป็นต้น

            นิรันดร์ จุลทรัพย์(2552:156)  ได้กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การเก็บข้อมูล (Data Collection) และการรวบรวมข้อมูล

            พิชิต ฤทธิ์จรูญ(2544:383)  ได้กล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ว่าจะดำเนินการอย่างไร ในช่วงเวลาใด เช่น ส่งทางไปรษณีย์หรือนำไปให้กลุ่มตัวอย่างเอง โดยวิธีการสอบถาม ทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องตลอดการทดลอง

สรุป
         การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการและเทคนิควิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการแสวงหาข้อมูล โดยจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ในช่วงเวลาใด อาจใช้วิธีการสอบถาม แบบทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้นเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวิจัย ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องตลอดการทดลอง

เอกสารอ้างอิง
ประคอง กรรณสูต.(2529).สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์.ปทุมธานี:บริษัท ศูนย์หนังสือ
              ดร.ศรีสง่า จำกัด.
นิรันดร์ จุลทรัพย์.(2552).การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว : บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
              ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

12. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจะทำอย่างไร โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
         1. วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
         2. แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
         3. ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4. วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5. วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6. การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้

          http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613 ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
          1.ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
          2.ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม (Empiricism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด

           สุทิติ ขัตติยะ,วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์(2553:29) อ้างถึง Black & Champion.1976 ว่า เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งหมดของกระบวนการดำเนินการวิจัย นับตั้งแต่ปัญหาการวิจัย รูปแบบการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปการวิจัย ซึ่งรูปแบบการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบการวิจัยเป็นแกนประสานปัญหาการวิจัยกับวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

สรุป
        ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613  เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
สุทิติ ขัตติยะ,วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์.(2553).แบบแผนการวิจัยและสถิติ. กรุงเทพฯ :
           หจก.เปเปอร์เฮาส์.

11. รูปแบบการวิจัย (Research Design)

          ดร.ไพศาล หวังพานิช(2531:80)  ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้น คว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้ แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ลึกซึงแค่ไหน

         ศ.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2533:16)  ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

         http://ruchareka.wordpress.com  ได้รวบรวมไว้ว่า รูปแบบการวิจัย (Research Design)มี 2 แบบ คือ
         1. การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental Research) มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง (Exposure) หรือสิ่งแทรกแซง (Intervention)
         2. การวิจัยโดยการสังเกต (Observational Research) ใช้การเฝ้าสังเกต ไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง มี 2 แบบ คือ
               2.1 การวิจัยเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) ไม่มีกลุ่มควบคุม หรือ
                     กลุ่มเปรียบเทียบ มี 2 แบบ คือ
                        2.1.1 การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง
                                 (Cross-sectional Descriptive Studies)
                        2.1.2 การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
              2.2 การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มีกลุ่มควบคุม หรือ
                    กลุ่มเปรียบเทียบมี 3 แบบ คือ
                        2.2.1 การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
                                 (Cross-Sectional Analytic Studies)
                        2.2.2 การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล
                                 (Prospective Analytic Studies / Cohort Studies)
                       2.2.3 การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง จากผลไปหาเหตุ
                                (Retrospective Analytic Studies / Case-control)

สรุป
        รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้น คว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

เอกสารอ้างอิง
ไพศาล หวังพานิช.(2531).วิธีการวิจัย.กรุงเทพฯ : งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการศึกษา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2533).การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
http://ruchareka.wordpress.com    เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555  

10. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Definition)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมไว้ว่า การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition) ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น

          http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0 ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี

          เพ็ญแข แสงแก้ว (2541:74) ได้กล่าวไว้ว่าว่าคำนิยามเชิงปฏิบัติการ คือข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรมหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้น

สรุป
        การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition) ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0  เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555
เพ็ญแข แสงแก้ว.(2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

9. คำสำคัญ (Key Words)

          http://images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com   ได้กล่าวไว้ว่า คำสำคัญ (Key Words)ศัพท์ดรรชนีหรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของงานวิจัย ช่วยในการสืบค้นเข้าถึงงานวิจัยเรื่องนั้น วิธีการคือ ดึงคำหรือแนวคิดที่ปรากฏในชื่อเรื่อง หรือการตั้งชื่อเรื่องควรประกอบด้วยคำสำคัญครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ควรหลีกเลี่ยงคำศัพท์สามัญที่มีคุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่น วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ระบบความแตกต่าง

         http://357252.blogspot.com/2011/07/keyword.html  ได้กล่าวไว้ว่า การกำหนดคำสำคัญ (Keyword) คือ การกำหนดค้นจากคำที่เห็นว่าควรจะปรากฏในเอกสาร เช่น ในส่วนชื่อเรื่อง คำอธิบายเนื้อหา สาระสังเขป หรือในส่วนเนื้อหาของเอกสาร
         - การกำหนดการค้นคำสำคัญ
         - กำหนดคำสำคัญเรื่องที่จะค้น
         - เรียงลำดับความสำคัญของคำสำคัญ
         - หาคำเหมือน คำที่มีความหมายข้างเคียง สัมพันธ์กัน
         - กำหนดรูปแบบการค้นที่ต้องการ
         - ตรวจสอบตัวสะกด
        วิธีการกำหนดคำค้นและกำหนดหนดเนื้อหาหลักก่อน ให้ดูจากคำเรียก ชื่อเรียก สาขาวิชา และสถานที่ภูมิศาสตร์ โดยตัดคำเชื่อม คำบุพบท คำขยายความออก ใช้คำที่เฉพาะ เจาะจงกว่า ใช้คำที่แนะนำ จากการสืบค้น เช่น การสืบค้นโดย google อาจมีคำสัมพันธ์ให้เลือกเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน

         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  ได้กล่าวไว้ว่า ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

สรุป
        คำสำคัญ (Key Words) ศัพท์ดรรชนีหรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของงานวิจัย ช่วยในการสืบค้นเข้าถึงงานวิจัยเรื่องนั้น วิธีการคือ ดึงคำหรือแนวคิดที่ปรากฏในชื่อเรื่อง หรือการตั้งชื่อเรื่องควรประกอบด้วยคำสำคัญครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ควรหลีกเลี่ยงคำศัพท์สามัญที่มีคุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่น วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ระบบความแตกต่าง ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
http://images.jpatmod1.multiply.multiplycontent.com   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://357252.blogspot.com/2011/07/keyword.html   เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

8. ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption)

          http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm   ได้กล่าวไว้ว่าข้อตกลงเบื้องต้น (assumptions) เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง” เป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริง แล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

          http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ
         1. ความมีเหตุผล
         2. หลักฐานข้อเท็จจริง
         3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
         ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้แนวทางการดำเนินการวิจัย

          www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc    ได้กล่าวไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับล่วงหน้า โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์และเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ ฯลฯ ตัวอย่างข้อตกลงเบื้องต้นจากเรื่อง “การสร้างแบบสำรวจวิจัยและทัศนคติในการเรียน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสำรวจด้วยความจริงใจ คะแนนที่ได้จากการตอบแบบสำรวจในเวลาที่ต่างกันไม่ทำให้คะแนนแตกต่างกัน

สรุป
        ข้อตกลงเบื้องต้น (assumptions) เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ

เอกสารอ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm  เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc  เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

7. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้กล่าวไว้ว่า นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง

         สุวิมล ว่องวาณิช(2551: 5) ได้กล่าวไว้ว่า การนำเสนอกรอบความคิดการวิจัย ควรนำเสนอในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย เพราะต้องเสนอกรอบความคิดซึ่งเป็นผลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่ที่พบโดยทั่วไป มักจะพบว่ามีการนำเสนอกรอบความคิดของการวิจัยในบทที่ 1 ซึ่งไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในบทที่ 1 อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้อ่านหรือแม้แต่นักวิจัยเองเข้าใจภาพรวมของผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น กรอบความคิดการวิจัยที่นำเสนออาจจะทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องของแนวเหตุผลในการกำหนดตัวแปรมาศึกษา เพราะความรู้ที่รองรับยังนำเสนอไม่เพียงพอ

        รัตนะ บัวสนธ์(2552: 79)  ได้กล่าวไว้ว่า กรอบความคิดการวิจัยนั้น ก็คือ กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆนั่นเอง กล่าวคือ ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ แต่เมื่อจะดำเนินงานวิจัยนักวิจัยได้ปรับลดตัวแปรบางตัวลง หรือทำให้ตัวแปรบางตัวคงที่ แล้วปรับกรอบเชิงทฤษฎีใหม่ จะได้เป็นกรอบความคิดการวิจัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นเท่านั้น หากเปลี่ยนเรื่องดำเนินการวิจัยใหม่ โดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีอื่นก็ต้องสร้างกรอบความคิดการวิจัยใหม่อีกเช่นกัน

สรุป
        การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้ชัดเจน กรอบแนวคิดเป็นความคิดรวบยอดของการวิจัยที่สรุปมาจากแนวคิดทฤษฎี ต้องชี้ให้เห็นว่ามีกรอบที่ศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม และจะศึกษาความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ เมื่อเขียนแนวคิดเชิงพรรณาแล้วอาจลองเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้เป็นรูปธรรมด้วย

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
สุวิมล ว่องวาณิช.(2552). "เทคนิคการสร้างกรอบความคิดของการวิจัย : ข้อบกพร่องที่พบบ่อย"
            เอกสารประกอบการบรรยายในงาน Thailand Research Expo 2008.
            กรุงเทพมหานคร : ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย ภารกิจบริหารจัดการผลงานวิจัย
            สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
รัตนะ บัวสนธ์.(2552). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
           แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. สมมติฐาน (Hypothesis)

         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมไว้ว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

         http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้รวบรวมไว้ว่า ในการสร้างสมมุติฐานมี 2แบบ ดังนี้
         1. แบบใช้เหตุผล หรือนิรภัย (Logical หรือ Deductive)
โดยการเขียนจากหลักการ หรือทฤษฎี ที่ได้ศึกษาก่อน และตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมานั้น สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีหรือไม่ ข้อสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมุติฐาน แสดงว่าสมมุติฐานนั้นใช้ไม่ได้
         2. แบบอาศัยข้อเท็จจริง หรืออุปนัย (Emperical หรือ Inductive)
การสร้างสมมุติฐานแบบนี้ต้องอ้างอิงการวิจัยอื่น ๆ สังเกตข้อเท็จจริง พฤติกรรม แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏขึ้น แล้วจึงตั้งสมมุติฐาน
        สมมุติฐานไม่ควรจะเป็นเรื่องที่คิดเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาใหม่เอง และไม่ควรเขียนขึ้นภายหลัง เมื่อรู้ลักษณะโดยตลอดของข้อมูลแล้ว สมมุติฐานควรจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของนักวิจัย ในการสังเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับปัญหา

         อรุณี อ่อนสวัสดิ์ (2551:51-53) ได้กล่าวไว้ว่า กาตั้งสมมุติฐาน หมายถึงข้อความที่แสดงถึงการคาดคะเนคำตอบเกี่ยวกับผลการวิจัย ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร โดยอาศัยหลักฐานหรือความรู้เดิม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการค้นคว้า เพื่อทำการพิสูจน์ตรวจสอบความถูกต้องของสมมุติฐานนั้น และเท็จจริงของเรื่องที่ต้องการศึกษา ประเภทของสมมุติฐาน (Type of hypothesi)
สมมุติฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สมมุติฐานการวิจัย และสมมุติฐานทางสถิติ
         1. สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นข้อความที่คาดเดาคำตอบ หรือสันนิษฐานคำตอบของการวิจัยไว้ล่วงหน้า ซึ่งเขียนบรรยายโดยใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน ในการทำการวิจัยไม่จำเป็นว่าการวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีสมมุติฐานการวิจัย การวิจัยบางลักษณะเช่น การวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยมักจะไม่ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะพบสิ่งใด หรือการวิจัยที่ไม่มีทฤษฎีหรือตัวอย่างในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มาก่อน
         2. สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่เขียนอธิบายคำตอบในรูปโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ที่คาดคะเนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรหรือมากกว่า สมมุติฐานทางสถิติประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
                2.1 สมมุติฐานศูนย์ (Null hypothesis) เป็นสมมุติฐานทางสถิติที่ตั้งเอาไว้เพื่อการทดสอบ ซึ่งเขียนไว้ในลักษณะที่ไม่แสดงความแตกต่าง ระหว่างค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ นิยมใช้สัญลักษณ์ H0แทนสมมุติฐานศูนย์
                2.2 สมมุติฐานอื่นที่เป็นทางเลือก (Alternative hypothesis) เป็นสมมุติฐานทางสถิติที่ตรงข้ามกับสมมุติฐานศูนย์ที่ต้องการทดสอบ ซึ่งเขียนไว้ในลักษณะที่แสดงความแตกต่างระหว่างค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ โดยตั้งขึ้นมาเป็นทางเลือกในกรณีปฏิเสธสมมุติฐานศูนย์ จะได้มีสมมุติฐานอื่นรองรับ และถ้ายอมรับสมมุติฐานศูนย์ จะได้ปฏิเสธสมมุติฐานอื่น โดยสมมุติฐานอื่นมักจะเป็นสมมุติฐานที่คาดว่าจะเป็นผลของการวิจัย นิยมใช้สัญลักษณ์ H1 หรือ HA แทนสมมุติฐานอื่น

สรุป
         การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm  เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
         1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น    เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
         2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                 2.1 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว 
                       และชุมชน
                 2.2 เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

          http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัย เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทาง เงื่อนไข และเรื่องราวโดยเฉพาะ โดยเน้นถึงผลที่จะได้รับในเชิงปฎิบัติได้จริง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องกำหนดแนวทางที่ถือปฎิบัติได้จริง วัดได้ ตรวจสอบได้ โดยการกล่าวถึงตัวแปรข้อมูล ตัวอย่างประชากร ตัวอย่างงาน มิใช่กล่าวข้อเสนอแนะ หรือประโยชน์ การวัตถุประสงค์ เป็นการเจาะจงถึงหลักการเนื้อแท้ของเรื่องราวที่ผู้วิจัยดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ความมุ่งหมายของการวิจัยจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ผู้วิจัยจะทำอะไร อย่างไร คาดว่าจะได้อะไรจากการวิจัย เป็นการแสดงเจตจำนงที่จะหาคำตอบในขอบเขตจำเพาะ อย่าเขียนเลยเถิดออกไปจากแนวทาง ในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ไม่ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาของงานวิจัย

         นงลักษณ์ วิรัชชัย (2535:55-61) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจ่มกระจ่าง เช่น  “เพื่อประมวลปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนจากการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์และนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา”

สรุป
         เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจ่มกระจ่าง

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2535). “คู่มือการเขียนโครงการวิจัย”. วารสารการวัดผลการศึกษา
           (ฉบับที่ 35). กรุงเทพมหนคร : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.

4. คำถามของการวิจัย (Research Question )

           http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
          คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้

          สุวิมล ว่องวาณิช (2550: 149-150) ได้กล่าวไว้ว่าความหมาย คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน เช่น
          ผู้สนใจศึกษาประเด็นวิจัยเกี่ยวกับ “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” ผู้อ่านอาจคาดเดาว่าสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ทั่วไป แต่หากปรับเป็นคำถามวิจัย จะทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นที่ศึกษามากขึ้น เช่น
“รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควรมีลักษณะเช่นใด ประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง ผลการใช้รูปแบบดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร”

          อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553: 7) ได้กล่าวไว่ว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร ตัวอย่างเช่น
          - หัวข้อวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง
          - ความเป็นมาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
          - เรื่องนี้สามารถจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทใด
          - เรื่องนี้มีอะไรดี สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง
          เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุด คำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย

สรุป
         คำถามของการวิจัยผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร ตัวอย่างเช่น
         - หัวข้อวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของอะไร และประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง
         - ความเป็นมาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
         - เรื่องนี้สามารถจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทใด
         - เรื่องนี้มีอะไรดี สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร
           : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิวรรณ โชติพฤกษ์.(2553). ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง
           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้กล่าวไว้ว่า  ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม  ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  ทฤษฎี  หลักการ  ข้อเท็จจริงต่างๆ  แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ  ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย  รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย  โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา  และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย  เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา  นอกจากนี้  ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย  เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน  ขัดแย้งกัน  และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น  เวลา  สถานที่  วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
          หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว  ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง  ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา  ภาษา  และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน  สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม  Polit & Hungler  ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้  โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
          1. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งศึกษามาก่อนแล้ว
หรือไม่
                1.1 รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่  ซึ่งตามความ
                      เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
                1.2 รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
                1.3 รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
                1.4 รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น  หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม 
                      มากเกินไป  และมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
                1.5 รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่  หรือเป็นเพียงแต่
                      ลอกข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
                1.6 รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น  หรือเป็นการเขียนในเชิง   
                      วิเคราะห์วิจารณ์  และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
                1.7 รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความคิด
                      อย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
               1.8 รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้ทั้งหมด
                     มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
       2. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
               2.1 รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
               2.2 รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
               2.3 รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่ 

           http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/researchknowledge/R2R4/__17_pdf.pdf   ได้กล่าวไว้ว่า   เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น  ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม  จะประกอบด้วยเป้าหมายหลัก  ดังนี้
       1. การหาความสำคัญของปัญหา
       2. การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
       3. แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
       4. สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย

           http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_476.html  ได้กล่าวไว้ว่า  หลักการสำคัญในการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
       1. เพื่อเป็นการค้นคว้าหาหัวข้อวิจัยว่า  มีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าจะนำมาเป็นปัญหา(ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร)
       2.เพื่อศึกษาว่าในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทำวิจัยนี้  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้าทำแล้วมีผลอย่างไร  จะต้องเสริมจุดไหนที่ยังไม่ชัดเจน (ซึ่งแสดงว่าเรื่องที่จะทำวิจัย ยังไม่ชัดเจนถึงขนาดตั้งเป็นชื่อเรื่องได้)

สรุป
         การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น  ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม  จะประกอบด้วยเป้าหมายหลัก  ดังนี้
        1. การหาความสำคัญของปัญหา
        2. การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
        3. แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
        4. สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/images/stories/researchknowledge/R2R4/__17_pdf.pdf   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_476.html    เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)

          http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   ได้กล่าวไว้ว่า  อาจเรียกต่างๆกัน  เช่น  
หลักการและเหตุผลภูมิหลังของปัญหา  ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย  หรือความสำคัญ
ของโครงการวิจัย ฯลฯ  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร  ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร  มีความเป็นมา
หรือภูมิหลังอย่างไร  มีความสำคัญ  รวมทั้งความจำเป็น  คุณค่าและประโยชน์  ที่จะได้จาก
ผลการวิจัยในเรื่องนี้  โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหา  และวิเคราะห์ปัญหา
อย่างกว้างๆ ก่อนว่า  สภาพทั่วๆ ไปของปัญหาเป็นอย่างไร  และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหา
อะไรเกิดขึ้นบ้าง  ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร  ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้  
มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

ื          http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   ได้กล่าวไว้ว่า  การเขียนบทนำ  
เป็นการสร้างฐานให้ผู้อ่านวิจัยทราบ  และเข้าใจเรื่องราวของงานวิจัยนั้นโดยตลอด  ตั้งแต่เริ่มค้นคว้า
ผู้วิจัยนั้นจะรายงานเรื่องอะไร  ปัญหาที่น่าสนใจมีอะไร  มีเหตุผลของการวิจัย  และการรายงานอย่างไรบ้าง  เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบสาระของการวิจัยมากที่สุดในการวิจัยนั้น  ผู้วิจัยจะต้องมีเหตุผลในการทำวิจัย มีความเข้าใจถึงตัวปัญหา ความสำคัญของปัญหา ขอบข่ายทฤษฎีที่ศึกษา ผลงานของการศึกษาอื่น ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  การสืบค้น  และมีหลักฐานยืนยันว่า  เรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นมีความสำคัญ และสัมพันธ์ในการตอบคำถามที่ต้องการอย่างไร
        ในเรื่องความเป็นมา  และความสำคัญของปัญหาในที่นี้จะกล่าวถึง  แนวทางการเรียน
ที่ควรจะปรากฎอยู่ในรายงานการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้
        1. แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า  เป็นการท้าวภูมิหลัง  ความเป็นมา  มีการจัดลำดับให้ชัดเจนของ
เรื่องราว  แหล่งกำเนิด  ผู้ค้นพบ  การสืบทอดของปัญหา  ที่มาของการวิจัย  โดยใช้เหตุ  และผล
มาสนับสนุนความคิดต่างๆ เหล่านั้น  เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น  และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง  และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น
        2. กล่าวถึงจุดสนใจของการศึกษาค้นคว้า  และมูลเหตุของการทำวิจัย  ที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า  เช่น  เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น  หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน 
หรือขาดรายละเอียด
        3. มีการเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา  และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย  มีคุณประโยชน์  และมีคุณค่าอย่างไร
        4. กล่าวถึงความต้องการ  และยืนยัน  หรือลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพ  และสถานการณ์ต่างๆ ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว  โดยใช้หลักการและเหตุผลในการสนองตอบ  และหักล้างแนวความคิด
       5. ในการเขียนนำเรื่องความเป็นมา  และความสำคัญของปัญหาอาจใช้วิธีต่อไปนี้
              5.1 มีการเขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
              5.2 เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่วๆ ไป (Inductive Method)
       อย่างไรก็ตาม  ในการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น  จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม  และการวางแผนงานของผู้วิจัย  แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่อง และติดตามงานวิจัยตลอดทั้งเรื่อง

         http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202   ได้กล่าวไว้ว่า  เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้  ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร  มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว  นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย  การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา  โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้  และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ  โดยกระบวนการวิจัย

สรุป 
         วิธีการเขียนความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย  อาจเรียกต่างๆกัน  เช่น  หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา  ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย  หรือความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร  ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร  มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร  มีความสำคัญ  รวมทั้งความจำเป็น  คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้  โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร  และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง  ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร  ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วหรือยัง  ที่ใดบ้าง  และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าต่องานด้านนี้ได้อย่างไร

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re7.htm   เข้าถึงเมื่อ16ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202   เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555

1. ชื่อเรื่อง (The Title)

            http://blog.eduzones.com/jipatar/85921    ได้กล่าวไว้ว่า   ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น
กะทัดรัดและชัดเจน   เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า  ทำอะไร  กับใคร  ที่ไหน  อย่างไร
เมื่อใด  หรือต้องการผลอะไร   ยกตัวอย่างเช่น  “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัด
เยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547”  ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน  โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า
และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบ  หรือส่วนขยาย   เช่น
“โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย   เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
            นอกจากนี้  ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัยในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย
มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ   คือ
          1. ความสนใจของผู้วิจัย
              ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด   และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          2. ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
              ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
          3. เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
              เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้   โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ
เช่น  ด้านจริยธรรม   ด้านงบประมาณ   ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล    ด้านระยะเวลาและการบริหา
ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
         4. ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
              ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง  ได้แก่  ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด)   สถานที่ที่ทำการวิจัย   ระยะเวลาที่ทำการวิจัย   วิธีการ
หรือระเบียบวิธีของการวิจัย

              http://www.blog.prachyanun.com/view.php?article_id=965   ได้กล่าวไว้ว่า   สำหรับวิธีในการใช้กำหนดตั้งชื่องานวิจัยแบบง่ายๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการที่นำเสนอชื่อเรื่องงานวิจัย   ดังนี้
         1. พยายามกำหนดชื่องานวิจัยให้ง่าย  สั้น  กระชับ  และชัดเจน
         2. ควรกำหนดขอบเขตของประชากรให้อยู่ในชื่อเรื่อง
         3. ชือเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
         4. พยายามให้ชื่องานวิจัย    ควรมีคำศัพท์(Wording)   ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถ
สืบค้นได้ง่าย    หากมี Key Search (TAGS)   จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ
            สำหรับใช้เทคนิคง่ายๆ ที่ผมมักจะแนะนำให้นักศึกษาใช้   คือ   ให้นักศึกษาลองตั้งคำถาม ประเภท  ใคร(Who)  อะไร(What)   ที่ไหน(Where)   เมื่อไหร่(When)   และอย่างไร (How)
ให้มาลองเรียงร้อยต่อสานต่อกัน  และพยายามอ่านดูและลองให้คนหลายๆ คนอ่านว่าเข้าใจอย่างไร
            ที่สำคัญ   ชื่อของงานวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก   เพราะถือเสมือนด่านแรกที่เราต้องการแนะนำผลงานให้คนทั่วไปจะรู้จักกับผลงานของเรา    ถ้าสามารถร้องเรียงภาชื่อได้ชัดเจนสวยงาม  
ย่อมเป็นการเชิญชวนให้คนทั่วไปสนใจในงานวิจัยเรามากขึ้น   เพราะบางครั้งเป็นที่น่าเสียดายที่พบว่างานวิจัยดีๆ หลายๆ งาน   ที่ไม่มีใครได้รับทราบ   เพราะชื่อไม่ได้สื่อในเนื้องาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรให้ความสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ

              http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm   ได้กล่าวไว้ว่า  ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
           1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น   โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง   หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง   และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย   กะทัดรัด   แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
           2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา    เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที   อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง   และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
           3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย   ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน   และเข้าใจง่ายขึ้น   เช่น
                   3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ   มักใช้คำว่า  การสำรวจ   หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัย
                         หรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้  เช่น  การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
                         หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน   หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน  
                         เป็นต้น
                   3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ   การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้    มักจะใช้คำว่า
                         การศึกษาเปรียบเทียบ   หรือการเปรียบเทียบ  นำหน้า  เช่น  การศึกษาเปรียบเทียบ
                         ความ สามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาลของจังหวัด
                         มหาสารคาม
                   3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์   การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า   การศึกษาความสัมพันธ์
                         หรือความสัมพันธ์นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย  เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อ
                         แม่   และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
                   3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ    การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า   การศึกษา
                         พัฒนาการ   หรือพัฒนาการนำหน้าชื่อเรื่องวิจัย   เช่น   การศึกษาพัฒนาการด้านการ
                         เขียนของเด็ก ก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
                   3.5 การวิจัยเชิงทดลอง   การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้   อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไป
                         ตามลักษณะของการทดลอง   เช่น  อาจใช้คำว่า   การทดลอง   การวิเคราะห์  
                         กาiสังเคราะห์  การศึกษา การเปรียบเทียบ  ฯลฯ  นำหน้าหรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้
                         นำหน้าก็ได้   เช่น   การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง
                        การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ใน
                        สารละลายน้ำตาลชนิดต่างๆ   การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ
                        การศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ในยางมะละกอ   การเปรียบเทียบการสอนอ่าน  
                        โดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ    การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
          4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม   ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ   สละสลวยกว่า
การใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง   เช่น  แทนที่จะใช้คำว่า  ศึกษา  เปรียบเทียบ  สำรวจ  ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า   เช่น   การศึกษา   การเปรียบเทียบ   การสำรวจ   ฯลฯ
          5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์  คือ  เป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย   ตัวแปร   และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา   วิจัยด้วย  
เช่น   การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ชั้นปีที่ 1   ปีการศึกษา 2544
           อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้นๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครูเป็นต้น

สรุป
         สำหรับวิธีในการใช้กำหนดตั้งชื่องานวิจัยแบบง่ายๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการที่นำเสนอ
ชื่อเรื่องงานวิจัย ดังนี้
        1. พยายามกำหนดชื่องานวิจัยให้ง่าย สั้น กระชับและชัดเจน
        2. ควรกำหนดขอบเขตของประชากรให้อยู่ในชื่อเรื่อง
        3. ชือเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
        4. พยายามให้ชื่องานวิจัย   ควรมีคำศัพท์(Wording)   ที่เป็นคำทางวิชาการที่สามารถ
สืบค้นได้ง่าย    หากมี Key Search (TAGS)   จะทำให้งานวิจัยง่ายต่อการสืบค้นของคนอื่นๆ
        สำหรับใช้เทคนิคง่ายๆ ที่ผมมักจะแนะนำให้นักศึกษาใช้   คือ   ให้นักศึกษาลองตั้งคำถาม
ประเภท  ใคร(Who)   อะไร(What)   ที่ไหน(Where)   เมื่อไหร่(When)   และอย่างไร (How)  
ให้มาลองเรียงร้อยต่อสานต่อกัน  และพยายามอ่านดูและลองให้คนหลายๆ คนอ่านว่าเข้าใจอย่างไร

เอกสารอ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921    เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://www.blog.prachyanun.com/view.php?article_id=965    เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2555
http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm    เข้าถึงเมื่อ 16ธันวาคม 2555